คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน
คอยล์หัวเทียน หรือ คอยล์จุดระเบิด
ประกอบไปด้วย ขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิ (หรือคือขดลวดไฟแรงสูงและไฟแรงต่ำตามลำดับ) พันอยู่บนแกนเหล็กเส้นเดียวกัน (คอยล์หัวเทียนหรือคอยล์จุดระเบิดนั้น จะมีแค่ในรถซึ่งใช้เบนซินเท่านั้น)
คอยล์หัวเทียนแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
- คอยล์หัวเทียนแบบจานจ่าย คือ คอยล์ประเภทนี้ หาได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งการจ่ายไฟนั้นจะใช้สายหัวเทียนเป็นตัวจ่ายไฟไปยังหัวเทียนซึ่งการจ่ายไฟของคอยล์ชนิดนี้จะมีความสัมพันธ์กับจังหวะของเครื่องยนต์
- คอยล์หัวเทียนแบบกึ่งไดเร็ค คือ จะคล้ายกับแบบจานจ่ายเพราะยังอาศัยสายหัวเทียน เป็นตัวนำกระแสไฟ แต่การทำงานของคอยล์นั้นจะใช้เซนเซอร์เป็นตัวส่งสัญญาณไปยังกล่อง ECU เพื่อประมวลผลในการควบคุมจังหวะการจุดระเบิดของคอยล์หัวเทียนโดยไม่ใช้จานจ่าย
- คอยล์หัวเทียนแบบไดเร็ค คือ คอยล์ซึ่งอยู่ในรถเบนซินในปัจจุบัน คอยล์หัวเทียนแบบไดเร็คไม่จำเป็นต้องใช้สายหัวเทียนในการจ่ายไฟเพราะคอยล์ชนิดนี้อยู่บนฝาวาล์วซึ่งต่อตรงไปยังหัวเทียนและมีเซนเซอร์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังกล่องควบคุมหรือกล่อง ECU ได้โดยตรง
สาเหตุที่ทำให้คอยล์หัวเทียนเสียหรือเสื่อมสภาพ ส่วนมากจะมาจากขดลวดทุติยภูมิหรือขดลวดไฟแรงดันสูงโดยเกิดจากการช็อตของขดลวดและอาจส่งผลทำให้ฟิวส์ขาดได้ สาเหตุทั้งหมดมักมาจากการใช้งานเป็นระยะเวลานานหรือ เกิดจากความร้อนสะสมของเครื่องยนต์ซึ่งถ้าหน้าห้องเครื่องมีอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติจะยิ่งส่งผลให้คอยล์นั้น เสื่อมสภาพได้ไวมากขึ้น
ส่วนอาการของคอยล์หัวเทียนเสียหรือเสื่อมสภาพนั้น สามารถอ่านได้ที่นี้